อยากเรียนด้าน Fashion, Art, Design ควรเลือกเรียนสาขาวิชาอะไรดี จบมาแล้วมีงานรองรับไหม ????
สำหรับธุรกิจที่โดดเด่นมาแรงแห่งปี
นอกเหนือจากธุรกิจด้านการตลาดดิจิตอล, ธุรกิจด้านการแพทย์
ความสวยความงาม, ธุรกิจอสังหาฯ, ธุรกิจบริการขนส่ง,
ธุรกิจพลังงานทดแทน แล้วอีก ธุรกิจที่น่าจับตามาแรงแห่งปีก็คือ ธุรกิจด้านแฟชั่นดีไซน์ และการออกแบบต่างๆ
เพราะปัจจุบัน “ศิลปะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในทุกมิติของธุรกิจ
ไม่ว่าจะเป็นศาสตร์ของฮวงจุ้ย ศิลปะ
และยังรวมไปถึงการสร้างแบรนด์ การจดจำ กระตุ้นการตัดสินใจซื้อได้อีกด้วย ที่สำคัญศาสตร์ของศิลปะด้านดีไซน์
และการออกแบบนับเป็นองค์ประกอบพื้นฐานและสำคัญของทุกธุรกิจอย่างแยกไม่ออก ดังนั้น นี่ถือเป็นโจทย์ใหญ่ของสถาบันการศึกษาต่างๆ
ทั้งไทย และต่างประเทศ ในการออกแบบหลักสูตร เพื่อสร้างนักศึกษาให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในด้านนี้ โดยนักศึกษาเจนเนอเรชั่นใหม่เกินครึ่ง
จบมาแล้วเป็นนักลงทุนหน้าใหม่เลย หรือ Start Up ! กันเลย และก็มีไม่น้อยที่ผันตัวเป็นฟรีแลนซ์ หรือเปิดบริษัทเอเจนซี่เองมีลูกค้าทั้งในไทย
และต่างประเทศ เพราะฝีมือคนไทยด้านนี้ถือว่าเป็นจุดแข็ง มีความละเมียด ละเอียด
งดงาม เป็นเอกลักษณ์ แฝงไอเดียแพรวพราวจนต่างชาติทึ่ง !!! บ้างก็เป็นพนักงาน เพราะสาขาวิชานี้มีข้อดีคือ “ต้นทุนต่ำ
พรสวรรค์มานำ เครื่องมือพร้อม ก็รวยได้เลย”
สำหรับน้องๆ
ที่กำลังสนใจด้านสาขาวิชาเหล่านี้ อยากรู้ใช่ไหมจะเลือกเรียนสาขาวิชาอะไรดี และปัจจุบันจะมีสาขาวิชาอะไรเปิดสอนอยู่บ้าง??? และมหาวิทยาลัยไหนที่มีชื่อเสียงในด้านนี้
และแต่ละวิชาจบไปจะมีอาชีพ หรือธุรกิจอะไรรองรับบ้าง ???
รายชื่อสาขาวิชาที่เปิดสอนมีมากมายบางสถาบันอาจมีชื่อเรียกต่างกัน
แต่ภาพรวมเนื้อหา หลักสูตร วิธีการสอนก็จะไม่แตกต่างกันเท่าไหร่
มาดูกันเลยดีกว่า ว่าจะเรียนอะไร
หมวดสายออกแบบ
และผลิตสื่อต่างๆ
- ด้านกราฟฟิคดีไซน์(GraphicDesign) เป็นหลักสูตรที่เน้นสอนเกี่ยวกับการออกแบบงานกราฟิกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการสื่อสารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อป้ายโฆษณาต่างๆ สื่อดิจิตอล ชิ้นงาน พัสดุ (Packaging Design) ฯลฯ วิชาเหล่านี้จะเน้นพัฒนาทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ การลงมือออกแบบ การรู้จักประยุต์ใช้สื่อ ฯลฯ ซึ่งสาขาวิชานี้ ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมาก รวมไปถึง นักเรียนที่จบก็สามารถทำธุรกิจเองได้เลย ทั้งรูปแบบเปิดบริษัทเอเจนซี่กราฟฟิคดีไซน์, กราฟฟิคดีไซน์ฟรีแลนซ์, ที่ปรึกษาหรือแม้กระทั่ง เป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าของตัวเอง แล้วออกแบบเองทุกอย่างได้เองทั้งหมด ตั้งตา นามบัตร โบรชัวร์ แค๊ตตาล็อกสินค้า Packaging ถุงใส่ของ ฯลฯ เพราะทักษะด้านออกแบบดีไซน์นี้ สามารถประยุกต์ใช้งานได้ครอบจักรวาล ใช้ได้กับสื่อทุกแบบ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์, สื่อ 2 มิติ, สื่อ 3 มิติ, สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือเว็ปไซต์ บรรจุภัณฑ์ (Packaging Design), ตราสัญลักษณ์ (Logo Design) เป็นต้น เรียกได้ว่า อาชีพเสือนอนกินขอแค่ขยัน ไอเดียปังเป็นพอ
- ด้านมัลติมีเดีย (MultiMedia) , อินเทอร์แอคทีฟมีเดีย (Interactive Media) หรือจะเรียกว่า “สื่อโลกอนาคต” ก็ไม่แปลก เป็นหลักสูตรที่เน้นสอนเกี่ยวกับกระบวนการวางแผน ออกแบบผลิตสื่อทางด้านมัลติมีเดีย (Multi Media) และสื่อแอนิเมชั่น (Animation Media) งงๆๆ เลยสิ ก็สื่อที่ว่าคือสื่อเคลื่อนไหว มีครบ ภาพ เสียง บรรยากาศ ล้ำๆ ก็มีกลิ่น เอ๊ฟเฟ็กซ์ด้วย โดยสาขาวิชานี้เน้นสร้างสรรค์ผลงานด้วยการใช้ซอฟต์แวร์, ฮารด์แวร์, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความทันสมัยประกอบ เพื่อผลิตเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารการเล่าเรื่อง การถ่ายทอดเนื้อหา และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่างๆ ให้มีหลายอรรถรสในเวลาเดียวกับที่เสพสื่อ สื่อที่ว่าจะมาทั้งในรูปแบบสื่อดิจิตอล, สื่อ 2 มิติ, สื่อ 3 มิติ (3D Multi Media), สื่อเสมือนจริง 4Multimedia Interactive Media(ปัจจุบันเปิดสอนในประเทศไทยไม่กี่แห่ง โดยนักเรียนไทยส่วนมากเลือกไปเรียนต่างประเทศมากกว่า อาทิ ประเทศอังกฤษ, สหรัฐอเมริกา, เกาหลีใต้ เป็นต้น เนื่องจากสื่อเหล่านี้พัฒนามามากกว่า 20 ปีแล้วในต่างประเทศ แต่เพิ่งได้รับความนิยมในไทยและภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคในเวลาไม่กี่ปืที่ผ่านมา) สาขาวิชานี้จะเน้นสอนด้านปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี เพราะต้องมีการใช้ทั้งซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประกอบมากมาย และอุปกรณ์ต่างๆ ยังถือว่ามีราคาสูงมาก ดังนั้นในประเทศไทยจึงมีการเปิดสอนในวิชานี้ในวงแคบ และค่าเล่าเรียนที่แพงมาก แต่ในทางตรงกันข้าม ในปัจจุบันสื่อด้าน Interactive Media กลับมีอิทธิพล และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราๆ ไปแล้วผ่านบรรดาโซเชียลเน็ทเวิร์ค แอพพลิเคชั่นต่างๆ ไอคอน อีโมชั่น (Emotion) จนเรียกเป็นภาษาดิจิตอลได้เลย ดังนั้น คนที่จบด้านนี้ ตลาดมีความต้องการพอๆกับกราฟฟิคดีไซน์ แต่คนจบด้านนี้จะมีข้อดีกว่ากราฟฟิคดีไซน์เพราะ กราฟฟิคดีไซน์ใช้แต่ไอเดียออกแบบ แต่มัลติมีเดียต้องออกแบบและผลิตสื่อออกมาเป็นชิ้นงานโฆษณามีครบรูป แสง สี เสียง หรือกลุ่นควบคู่ไปด้วย ดังนั้นน้องๆ ที่กำลังเรียนอยู่ต้องรีบขยัน พัฒนาฝีทือ สร้างโ Portfolio ของตนเองตั้งแต่เรียนกันไว้เลย เพราะบริษัทแบรนด์สินค้ายักษ์ใหญ่ บริษัทเอเจนซึ่โฆษณา บริษัทสร้างหนังต่างๆ มักจะตามล่าตัวนักแอนนิเมชั่นเก่งๆ จองตัวกันตั้งแต่ยังเรียนไม่จบประมาณนั้นเลย
หมวดสายออกแบบ
และผลิตเชิงวิศกรรม อุตสาหกรรม
สาขาวิชานี้คนที่จบเราจะเรียกว่าเป็น
“นักมัณฑนากร” ก็ไม่ผิด โดยจะเน้นการสอนทั้งด้านทฤษฎี
และปฎิบัติในศาสตร์ของการประยุกต์ใช้ศิลปะเพื่อการออกแบบตกแต่งภายใน การวิเคราะห์ ประเมิน
วางแผน การบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ควบคู่กับการสร้างงานศิลปะ สร้างสุนทรียภาพ ให้แก่สถานที่นั้นๆ
ได้อย่างลงตัวที่สุด ส่วนมากคนที่จบสาขาวิชานี้ ก็จะสามารถต่อยอดเรียนต่อด้านสถาปนิกได้ด้วย
แต่ถ้าจะทำงานก็สามารถทำได้ทั้งฟรีแลนซ์ และพนักงานบริษัท
โดยเงินเดือนอาชีพนี้ถือว่าสูง คุ้มค่ามากๆ และตลาดรองรับก็มากพอสมควร ตลาดรองรับ
อาทิ บริษัทอสังหาริมทรัพย์, บริษัทสถาปนิก, เอเจนซี่โฆษณาพวกอีเว้นท์ ออแกไนซ์เซอร์ Exhibition Agency,
หรือแม้กระทั่ง ห้างสรรพสินค้า บริษัทแบรนด์ดัง ที่ต้องการผู้ออกแบบตกแต่งร้านค้า โชว์รูมสินค้า หรือที่เรารู้จักกันว่า Merchandiser – เมอร์ชั่นไดเซอร์นั่นเอง คุ้นๆ กันไหม งานถึงหนักเป็นช่วงๆ
แต่กระเป๋าตุงคุ้มค่าเหนื่อยแน่นอน
สาขาวิชานี้บางคนอาจจะเข้าใจว่าสอนแค่รู้จักการตัดเย็บเสื้อ
เหมือนโรงเรียนห้องเสื้อทั่วๆ ไป ไม่ถูกต้องทั้งหมด
เพราะสถาบันจะเน้นสอนตั้งแต่ประวัติศาสตร์ของศิลปะแต่ละยุค เพื่อมาปรับใช้ในการคิดสร้างสรรค์ประยุกต์ใช้กับการออกแบบดีไซน์แฟชั่นแต่ละคอลเล็คชั่นให้เหมาะกับยุคสมัย คอนเซ็ปต์
รวมถึงแม้กระทั่งสาขาวิชานี้จะสอนทุกกระบวนการของแฟชั่นดีไซน์ตั้งแต่เริ่มต้นจนเป็นชิ้นสินค้าเสื้อผ้าออกขายตลาดกันเลย โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ประเภทเนื้อผ้า การเลือกเนื้อผ้า การเลือกผ้า การคำนวณ
ตัดเย็บเพื่อควบคุมต้นทุนคุ้มค่าที่สุด
ประเภทผู้สวมใส่ โอกาสจะสวมใส่ จนถึงทุกกระบวนการ เทคนิค เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการตัดเย็บ
การออกแบบสร้างสรรค์ศิลปะบนชิ้นงาน ที่ลืมไม่ได้ก็ เทคนิคการแต่งหน้า ทำผม ให้เข้ากับแฟชั่นนั้นๆ ก็สำคัญอีกด้วย และที่น่าสนใจคือ ในหลักสูตรจะมีการสอนให้ผู้เรียนเตรียมพร้อมสู่การเริ่มต้นทำธุรกิจด้านแฟชั่นดีไซน์แบรนด์ของตนเองได้เลย หรือจะเป็น Brand Ambassador
Agency ก็กำลังเป็นอีกอาชีพที่กำลังได้รับควานิยมในต่างประเทศ เพราะเด็กในต่างประเทศส่วนมาก
มักสนใจเรียนต่อวิชาด้านพัฒนาทักษะประกอบอาชีพได้เลยมากกว่าเรียนทฤษฎีแบบเด็กไทยรุ่นเราๆ
ที่เน้นจบปริญญาโท ปริญญาเอก ความน่าสนใจของสาขาวิชาชีพนี้คือ ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี
เพราะสามารถเป็นเจ้าของแบรนด์ห้องเสื้อของตัวเองทันทีมีตลาดเองได้ทั้ง ตลาดออฟไลน์
และตลาดออนไลน์ จะโต Go Inter สู่แคทวอล์คต่างประเทศก็ทำได้ง่ายมากขึ้น มีโอกาสรออยู่มาก หลายหน่วยงานภาครัฐสนับสนุน สำหรับสาขาวิชานี้
ในประเทศไทยอาจจะมีเปิดสอนไม่มาก มีเพียงไม่กี่สถาบันหน้าใหม่
แต่ที่มีชื่อเสียงว่าเป็นสถาบันสร้างผู้นำด้านแฟชั่นดีไซน์จริงๆ ที่คุ้นหูก็
วิทยาลัยนานาชาติราฟเฟิลส์ กรุงเทพฯ ที่เป็นสาขาจากสิงคโปร์
แถมเป็นสถาบันเครือข่ายของ Northumbria University, Newcastle หรือมหาวิทยาลัยด้านแฟชั่น Top 10 ของอังกฤษ
ที่รู้จักที่นี่เพราะได้ยินจากดาราดังๆ หลายคนที่เป็นเจ้าของแบรนด์ห้องเสื้อตัวเองได้ให้สัมภาษณ์ว่าเรียนจบจากที่นี่
ส่วนอาชีพรองรับของสาขาวิชานี้ บอกเลยว่า
เกือบทั้งหมดเลือกที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจของตนเอง
มีแบรนด์แฟชั่นเสื้อผ้าของตนเอง มากกว่าเป็นพนักงานบริษัท แฟชั่นดีไซนเนอร์ยุคใหม่ก็มีหลายหมวดให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าหมวด ผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก คนท้อง
คนอ้วน ชุดกีฬา นี่ยังไม่รวม รับจ้างออกแบบบรรดาชุดพนักงานบริษัท ชุดยูนิฟอร์มต่างๆ อาทิ ธนาคาร สายการบิน ชุดนักกีฬาทีมชาติ ชุดสำหรับจัดงานกิจกรรมการตลาด
อีเว้นท์โอกาสต่างๆ ฯลฯ อาชีพนี้ขอแค่มีไอเดีย DNA เด่น บวกเงินทุนพอควรก็มีรายได้เป็นกอปรเป็นกำรอยู่
สาขาวิชานี้มีความใกล้เคียงสาขาวิศวะออกแบบ
(Engineering
Design) อย่างแยกไม่ออกเพราะ วิชานี้เน้นสอนวิธีการออกแบบและพัฒนาทางวิศวกรรม
ตลอดจนถึงกระบวนการวางแผนการผลิต ประยุกต์ปรับแก้ปัญหา ผู้เรียนมีความจำเป็นต้องมีพื้นฐานมีความรู้ด้านวัสดุ
วัตถุดิบ การผลิต ประเภทของผลิตภัณฑ์โดยละเอียด
ตั้งแต่ประเภทงานออกแบบ วัสดุ ประเภทวัสดุ
ประเภทพื้นผิวสัมผัส อิทธิพลของผิวสัมพัส
อิทธิพลของสี ความรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่
รู้จักเทคนิคทางวิศวกรรมต่างๆ
ที่สำคัญอีกอย่างคือ การบริหารต้นทุนค่าใช้จ่าย
และผลประโยชน์ให้เกิดสูงสุด รวมไปถึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับ
หลักการแปลงหน้าที่ทางคุณภาพ (Quality
Function Development) และหลักการ Axiomatic Design (AD) โดยการออกแบบทางวิศวกรรมนั้นเป็นรูปแบบ พื้นฐานที่ประยุกต์ใช้ให้ตรงกับความต้องการ
ความเหมาะสมในการใช้งาน คุณลักษณะของผลงาน
ซึ่งความต้องการภายในเหล่านี้
คือปัจจัยสำคัญในการควบคุมกระบวนการออกแบบเพื่อใช้ร่วมกับกระบวนการตัดสินใจ
ตลอดจนถึงขั้ตอนการผลิตด้วย
ดังนั้น แอดมินหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลนี้จะมีประโยชน์กับน้องๆ
ที่กำลังใกล้เรียนจบม.ปลาย หรือโรงเรียนอินเตอร์เกรด 10 แล้วคิดไม่ออกว่า ตัวเอง ชอบ
สนใจ อยากเรียนอะไรต่อจะต่อปริญญาตรี หรือ สายอาชีพ หรือเลิกเรียนต่อ มีพรสวรรค์อะไรบ้าง พี่แอดมินแนะนำนะว่า ลองนั่งนิ่งๆ สงบ แล้วคอยสังเกตุตัวเองว่า ชอบ และทำอะไรแล้วรู้สึก สนุก
ถึงยากแต่ก็ไม่เคยจะท้อ ไม่เหนื่อย นั่นเป็นสัญญาณบอกความสนใจของตนเองได้ดี ขอแค่เติมความรู้ ความเข้าใจ พัฒนา
ฝึกฝนทักษะ รับรองอนาคตสำเร็จแน่นอน ดังนั้น จะเลือกเรียนสาชาวิชาชีพไหนข้างต้นก็เอาที่ตนเองต้องการได้เลย พี่แอดมินขอเอาใจช่วยน้องๆ
ทุกคนให้สำเร็จตามฝันด้วยนะ
ขอขอบคุณที่มาข้อมูล
ภาพ เนื้อหา :
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น