เปรียบเทียบการเรียนต่อในไทย
กับต่างประเทศ เรียนที่ไหนดีกว่ากันในยุค Digital
Economic ??
คำถามนี้เหมือนเป็นคำถามนานาจิตตัง
ที่ถกกี่ชาติก็ไม่ได้คำตอบที่ถูกต้องทั้งหมดเสมอไป ดังนั้น ผู้ที่จะเรียน น่าจะเป็นผู้ประเมิน
ตัดสินใจเองจะดีที่สุด ตามโบราณว่า “You are What
You Do” สิ่งที่สำคัญที่อยากมาแนะนำกันในวันนี้ คือ
ความจริงอีกด้านของการเปรียบเทียบการเรียนต่อในไทย กับต่างประเทศ
ตกลงแล้วเรียนที่ไหนดีกว่ากัน ??
เรียนต่อในประเทศ
|
เรียนต่อในต่างประเทศ
|
ด้านภาษา
|
|
โอกาสไดเพฒนาการด้านภาษาน้อยกว่าเรียนในต่างประเทศอยู่แล้ว
เพราะรอบตัวเรา ตั้งแต่ครอบครัว เพื่อน
สังคมรอบตัวอาจจะพูดไทยเป็นหลัก แต่ปัจจุบันตั้งแต่ไทยเราเปิด AEC เริ่มมีโรงเรียน
มหาวิทยาลัยนานาชาติเปิดในประเทศเป็นดอกเห็ด เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเป้าหมายใหม่รองจากยุดรป
อเมริกา และเป็รประเทศแรกที่เด็กต่างชาติใน South East of Asia เลือกมาเรียนมากที่สุด แซงสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เพราะค่าครองชีพ ค่าเล่าเรียน
และวัฒนธรรมทางสังคมที่เป็นแรงดึงดูด ดังนั้นผู้เรียนในไทยจึงได้อานิสงค์ไปด้วยคือ
ต้องใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน สังคมมากขึ้น และเด็กรุ่นใหม่ก็เริ่มพยายามอัพเกรดตัวเอง
ให้พูด อ่านได้หลายภาษา ตามดารา นักร้องที่ชื่นชอบ รวมทั้งตามภาคบังคับใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการไทยก็พัฒนาให้เรียนภาษาจีนเพิ่มเป็นภาษาสากลอีก
1 ภาษาอีกด้วย
|
แน่นอนโอกาสไดเพฒนาการด้านภาษามากกว่าเรียนในประเทศแน่นอน
เพราะทั้งคลาสเรียน เพื่อน สังคมรอบตัวก็ไม่ใช่คนไทย ดังนั้นก็เป็นการตีกรอบบังคับใช้ภาษาอังกฤษไปโดยปริยาย
แต่บอกเลยว่า บางคนถ้าไปเรียนตามเพื่อน และมีแต่เพื่อนคนไทย
อาศัยอยู่แต่ถิ่นคนไทย ยังไงพัฒนาการภาษาอาจจะไม่ได้มากไปกว่าการเรียนในประเทศเท่าไหร่เลย
แต่จะฟัง พูด เขียน อ่านได้มากขึ้น มั่นใจขึ้นเล็กน้อย และที่น่าคิดอีกคือ เด็กที่จบในต่างประเทศส่วนมากจะได้ภาษาเพิ่มแค่เพียงภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ก็มีคนส่วนน้อยที่จะพยายามพัฒนาภาษาอื่นที่ไม่ไช่ภาษาสากลของในปัจจุบันอย่างภาษาอังกฤษ
กับจีน โดยพวกเขาสามารถเลือกเรียนเพิ่มเองได้ ขึ้นอยู่กับความสนใจ ความชอบ
ความจำเป็นของแต่ละคนไป โดยภาษที่เด็กไทยนิยมรียนเพิ่มคือ อาทิ ภาษาญี่ปุ่น
เกาหลี รัสเซีย ฝรั่งเศส อิตาลี่ ฯลฯ
|
ด้านวัฒนธรรม
|
|
โดยภาพรวมประเทศไทยปัจจุบันก็กลายเป็น
Hub of Culture,
Cuisine, Architecture ไปเสียแล้วดังนั้น
ด้านวัฒนธรรมภาพรวมอาจจะไม่ต่างกันมาก แต่ที่เพิ่มเติมคือ มีความหลากหลายมากกว่าตตตามที่เราๆ
ได้เห็น รู้จัก สัมผัส ลิ้มลองบ้าง ที่เห็นชัดเจนคือ ด้านอาหาร ประเพณี ยันสถาปัตยกรรม
ศาสนา ที่ในปัจจุบันไทยรวมแทบจะทั่วโลกไว้ในประเทศไว้หมดแล้ว
เพียงแต่อาจจะแตกต่างกับการเรียนในต่างประเทศที่จะได้ซึมซับวัฒนธรรม ศิลปะ ศาสนาแท้ๆ
ของประเทศนั้นๆมากกว่าในไทย อาทิ อาหารรสชาติความจัดจ้าน เข้มข้นตรงตามวัฒนธรรมของแต่ละประเทศก็อาจจะมีกลิ่นอายไทยปนมากหน่อย,
วัฒนธรรมของคนในสังคม
วิถีชีวิตอาจจะไม่ต้องปรับเยอะเท่ากับอยู่ในต่างประเทศ แต่ถ้าจะให้ดี หัดเรียนรู้ไว้ แล้วเลือกปรับมาใช้
หรือรู้ไว้เป็นแนวทาง เผื่ออนาคตได้ไปท่องเที่ยว ทำงาน ใช้ชีวิตจะได้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
จนไม่รู้สึกอึดอัด ลำบากใจ
|
ด้านวัฒนธรรมนี้บอกเลย
ในต่างประเทศต่างกับไทยแทบจะโดยสิ้นเชิง
ทั้งระดับปฐมภูมิอย่างการเลี้ยงดูในครอบครัว
สถาบันการศึกษา สังคม เพื่อนฝูง
ธุรกิจ เพราะบอกเลย แต่ละประเทศ ทั้ง วัฒนธรรม ประเพณี มารยาททางสังคมแต่ละประเทศค่อนข้างแตกต่างกันมาก
ซับซ้อน และบางอย่างเปราะบางในความรู้สึก
โดยเฉพาะวัฒนธรรมภาษากายเป็นอีกสิ่งที่สำคัญควรต้องศึกษา
เรียนรู้ก่อนไปให้มากๆ ตัวอย่าง การยกนิ้วโป้ง ความหมายของไทย อังกฤษ เกาหลี
แอฟฟริกา ฝรั่งเศส โปแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ หมายถึงสุดยอด ที่หนึ่ง แต่คนรัสเซีย
กรีซ แถบละตินอเมริกา แอฟฟริกาตะวันตก ความหมายคล้ายนิ้วกลางบ้านเราเลย อู๊ววว!!! เป็นต้น
รวมไปถึง รสชาติ
เมนูอาหาร กลิ่นอาย การปรุง วัตถุดิบก็จะเข้มข้นต่างกันไปในแต่ละประเทศ
ตามวัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิประเทศนั้นๆ อาจจะถูกปากบ้าง ไม่ถูกปากบ้าง
ก็ต้องปรับๆกันไป ถึงจะเป็นร้านอาหารไทยแท้
แต่รสชาติก็อาจจะต่างจากต้นตำรับไทยแท้อยู่บ้าง เพราะข้อจำกัดในการปรุงทั้ง เชฟ
วัตถุดิบ ฯลฯ สำหรับด้านศาสนา สถาปัตยกรรมค่อนข้างละเอียดอ่อนยังไงก็ต้องปรับตัว
รู้ไว้ให้เท่าทันการณ์ แต่แนะนำ อย่าลืมหาเวลาว่าง ไปร่วมกิจกรรมทางวัฒนรรม ศาสนา ท้องถิ่นของเค้าบ้างจะได้ทำความรู้จัก
โลกอีกด้านทั้งด้าน ความคิด จิตใจ นิสัย อารยธรรม วัฒนธรรมที่แตกต่งกันมากขึ้น
ที่สำคัญ นั่นคือ “ครั้งหนึ่งในชีวิต” ของคุณ
|
ด้านการเรียน
|
|
สำหรับหลักสูตรการเรียน
การสอนของโรงเรียน มหาวิทยาลัยของคนไทย ในประเทศไทย บอกเลย “ชื่อหลักสูตร”
ดูดีอินเตอร์จ๋า ตามแบบต่างประเทศเรียกเป๊ะ แต่ที่ต่างกันสุดขั้วคือ
·
ระยะเวลาหลักสูตร
อาทิ ปริญญญาตรีในไทยตามกฏของ
กระทรวง ศึกษาธิการคือ หลักสูตร
4 ปี ส่วนมากจะจบตอนอายุประมาณ 18 – 19 ปีจบแล้วจะได้แค่ปริญญาบัตรที่รับรองและออกโดยกระทรวงศึกษาธิการในไทย
ข้อดีคือเหมาะสำหรับยื่นสมัครงานในประเทศ
หรือบริษัทต่างชาติที่มีสาขาในไทยแต่จะไม่ได้รับความนิยมถ้าใช้ยื่นสมัครงานในต่างประเทศ และเด็กที่จบมากก็จะเรียนต่อปริญญาโทต่อเลยทันทีอีก
2 ปี กว่าจะจบอายุก็ 21-22 ปี จากนั้นพวกเขาถึงเข้าตลาดแรงงานได้ และเกือบครึ่งมักเลือกเป็นลูกจ้าง
มากกว่าเริ่มทำธุรกิจเอง
แต่ส่วนตัวมีลูกพี่ลูกน้องที่อายุเท่ากัน
แต่แทบไม่น่าเชื่อ เค้าเรียนจบป.โทก่อนเรา 2 ปี ได้ดีกรีนอก ซะตั้งแต่อายุ 19
ย่าง 20 ปี ในขณะนั้นเราเพิ่งเรียนปริญญาตรีปี 2 อยู่เลย เพราะสถาบัน หรือ มหาวิทยาลัย
ของเค้าเป็นนานาชาติที่เปิดสอน ตั้งอยู่ในไทยนี่และ เปิดสอนปริญญาตรีหลักสูตรเพียง 3 ปีเท่านั้น
ซี่งสถาบันเหล่านี้ จะมีประเทศพันธมิตรเป็นทั้งผู้รับรองและออกปริญญาบัตรให้ โดยที่ผู้เรียนสามารถที่จะเลือกเรียนในไทย
และ/หรือ สามารถโอนย้ายหน่วยกิตไปยังประเทศพันธมิตรในต่างประเทศระหว่างเรียนได้ด้วย บางที่พอเรียนจบ บางสถาบันอาจจะมีการออกให้ปริญญาบัตรให้จำนวน
2 ใบคือ ปริญญาบัตรทั้งในประเทศ และต่างประเทศ หรือต่างประเทศเท่านั้น
ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสถาบัน และสำหรับปริญญาโท ก็จบได้ภายใน 1 ปีเท่านั้น จะเรียนในไทย
หรือต่างประเทศก็เลือกได้ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ผู้ที่เรียนในสถาบันนานาชาติในประเทศจึงเรียนจบไวกว่า สำเร็จเร็วกว่า
เริ่มธุรกิจได้เร็วกว่าเด็กไทยที่เรียนตามกฏกระทรวง ฯของบ้านเรา แถมข้อดี ได้เปรียบอีกข้อที่เห็นได้ชัดเจนของเด็กที่เรียนสถาบันนานาชาติคือ
ถึงแม้จะเป็นปริญญาตรี หรือวุฒิบัตรที่ประเทศพันธมิตรให้การรับรองหรือออกปริญญาตรบัตรให้ สถิติ พบว่า ผู้เรียนมีโอกาสสำเร็จในธุรกิจเร็วกว่า
มีอัตราการจ้างงานมากกว่า เงินเดือน และตำแหน่งสูงกว่า
และมีโอกาสจะได้ร่วมทำงานกับทั้งบริษัททั้งในและต่างประเทศ มากกว่าเด็กที่จบตามกฎกระทรวงฯของไทย
·
วิธีการสอน
วัฒนธรรมการสอนของไทยเน้นสอนให้เด็ก
ท่องจำตามตำรา
ทำตามทฤษฎี (Theory Learning) มากกว่าการลงมือปฏิบัติ (Practical Learning) ที่สำคัญ
เน้นสอนเพื่อสอบแข่งขันกันที่คะแนน อาจารย์
คุณครูผู้สอนมีความเข้าใจผิด คิดว่าการให้การบ้านทุกวันตามเรื่องที่สอน
จะทำให้เด็กเข้าใจมากขึ้น ทบทวนมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงเป็นความเข้าใจที่ผิด สุดท้ายเด็กไทย จะต้องเสียเวลา
หมดเวลาไปกับการทำการบ้าน
มากกว่าการทำความรู้ความเข้าใจ
ฝึกฝนบทเรียนที่เรียนมาในแต่ละวัน อีกสิ่งสำคัญคือ
อาจารย์จะป้อนให้ความรู้แค่เพียงในตำราที่สอน ไม่ค่อยสอดแทรกที่เป็นคามรู้ใหม่ๆ
นอกเหนือจากสิ่งที่เตรียมมาสอน /ตำรา / หลักสูตรและที่สำคัญคือ อาจารย์สอน
และบอกเด็กทั้งหมด โดยไม่ได้เปิดช่องว่าง โอกาสให้เด็กคิด วิเคราะห์ ประยุกต์
และสังเคราะห์เนื้อหาวิชา สิ่งที่เรียนด้วยตนเอง จึงทำให้เป็นอุปสรรค
และเป็นจุดด้อยต่อการพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาทักษะ
การใช้สมองของเด็กไทย อีกทั้งบทเรียน
ตำราเรียนในการสอนที่ต้องควบคุมโดยกระทรวงฯ ไม่ได้รับการ R&D
(Research & Development) ให้เข้ากับยุคสมัย
สถานการณ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ขาดทั้งความ สด ใหม่ ถูกต้องเท่าที่ควร และอาจารย์ผู้สอนเองก็ยังไม่มีความรู้ในแต่ละบริบทของเรื่องนั้นๆ
ดีเท่าที่ควร ดังนั้น เด็กจึงหันไปปรึกษา เรียนพิเศษเพิ่มเติมกับสถาบันที่สอนติวต่างๆ
มากกว่าสนใจในห้องเรียน
แต่ที่น่าสนใจของบรรดาสถาบันนานาชติที่เปิดสอนใน
จะมีวิธีการสอนเดียวกับต่างปะเทศ เพราะเน้นสอนแบบการลงมือปฏิบัติ
รู้จักคิดพัฒนาต่อยอด (Practical &
Active Learning) เน้นให้เด็กแข่งขันกับตัวเอง มากกว่าสอนให้แข่งกันแต่คะแนน
และสามารถนำไปใช้ในชีวิตการทำงานจริงๆ ได้เลย
·
อาจารย์ ผู้สอน
สำหรับสถาบันในประเทศส่วนมากจะใช้ครู
อาจารย์
ผู้สอนทั้งประจำ และพิเศษเป็นคนชาติไทยมากกว่าอาจารย์ต่างชาติ เทคนิคการสอนจะไม่เคร่งเครียด
แพรวพราว หรือมีเทคนิคพิเศษมากนัก เน้นย้ำ ท่องจำ ทบทวนตามตำราเกือบทั้งหมด แต่สำหรับสถาบันนานาชาติจะเน้นสอนโดยอาจารย์ต่างชาติเกือบทั้งหมด
แทบจะไม่มีคนไทยสอน ซึ่งอาจารย์ต่างชาติจะมี เทคนิค วิธีการสอน คุณภาพการสอนที่ต้องข้างเคร่งครัด
ขับเคี่ยว ผลักดันให้เด็กรู้จักคิด พัฒนาทักษะมากกว่าป้อนความรู้ ให้ท่องจำเพื่อสอบทำคะแนนแบบสถาบันฯ
ของไทย
·
เป้าหมายของการสอน
เด็กไทยมักสอนให้แข่งกันเอง
วัดประสิทธิผล
การเรียนกันที่คะแนนสอบ
ไม่ได้วัดที่ความสามารถ แต่ถ้าเป็นสถาบันนานาชาติในไทย
เป้าหมายของการสอน ต่างกับสถาบันของไทย ซึ่งเหมือนกับเรียนต่างประเทศเป๊ะเลย คือ
เน้นสอนให้เด็กคิดเป็น เป็นงาน ลงมือทำได้เอง แข่งขันกับตนเองมากกว่าวัดกันที่คะแนนสอบ
รู้จักพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง รู้จักแก้ปัญหา
ให้คะแนนจากผลงานที่ทำ ไม่ใช่แค่คะแนนสอบจากการท่องจำเท่านั้น
·
ผลที่ได้รับจากการเรียน และคุณภาพของผู้เรียน
สังคมไทยมักจะให้ดีกรี
ยกยอเด็กจากชื่อของ
สถาบัน รวมทั้งคะแนนการเรียนมากกว่าทักษะ
สมรรถภาพด้านอื่นๆ และเด็กนักเรียนไทยพอเรียนจบส่วนมาก
มากเลือกที่จะสมัครเข้าทำงานตามหน่วยงาน องค์กร รัฐบาล บริษัทเอกชน
ใฝ่ฝันมีตำแหน่งสูงๆ หน้าที่การงานดีๆ มั่นคงเก็บเงินเพื่อเปิดธุรกิจของตนเอง มากกว่าเป็นนักธุรกิจหรือเปิดบริษัทเองเลยทันที
แต่เด็กที่จบจากสถาบันนานาชาติในไทยกับเด็กที่จบในต่างประเทศ
มักจะมีคุณภาพการเรียน และทัศนคติ
ความคิดด้านการงาน อาชีพหลังเรียนจบคล้ายๆ
กัน คือ เรียนจบแล้วจะขอเลือกเป็นเจ้าของธุรกิจหรือกล้าทำตามความชอบ ความสนใจ
ความถนัดของตัวเอง มากกว่าเลือกเข้าระบบตลาดแรงงานเป็นลูกจ้าง
|
ตามที่บอกถึงชื่อหลักสูตรในต่างประเทศคล้ายใยประเทสไทยก็จริง
แต่เนื้อหา ความเข้มข้นของหลักสูตรต่างกันโดยสิ้นเชิง
·
ระยะเวลาหลักสูตร
ปริญญญาตรีตามสถาบัน
มหาวิทยาลัยใน
ต่างประเทศส่วนมาก หลักสูตร 3 ปี แต่มีจำนวนภาคเรียนมากกว่า แตละภาคเรียนระยะเวลาสั้นกว่าการเรียนในประเทศ
ดั้งนั้น ผุ้เรียนจะได้มีระยะเวลาในการเรียนที่เข้มข้นต่อเนื่องมากกว่า ผู้จบจะได้รับ ปรกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตรที่รับรองและออกโดยสถาบันนั้นๆ
เองได้เลย ข้อดีคือเหมาะสำหรับยื่นสมัครงานในประเทศ หรือบริษัทต่างชาติจะได้รับความนิยมเพื่อใช้ยื่นเรียนต่อปริญญาโทในต่างประเทศ
หรือสมัครงานในต่างประเทศก็ได้เช่นกัน
·
วิธีการสอน
วัฒนธรรมการสอนของสถาบันในต่างประเทศ
ต่างกับในประเทศไทยโดยสิ้นเชิง
เพราะในต่างประเทศ เน้นสอนแบบการลงมือปฏิบัติ รู้จักคิดพัฒนาต่อยอด (Practical &
Active Learning) เน้นให้เด็กแข่งขันกับตัวเอง มากกว่าสอนให้แข่งกันแต่คะแนน
ซึ่งในชีวิตการทำงานจริง
เราไม่ได้วัดความสำเร็จของธุรกิจจากตัวเลขของผลงานอย่างเดียว
แต่มีวัดกันที่ความสำเร็จ (Output) และที่สำคัญ ตำราเรียน
บทเรียน เนื้อหาในการสอน รวมทั้งผู้สอนเองต้องมีการอัพเดต
เปลี่ยนแปลงความใหใม่ สดของเนื้อหา
ให้ทันกับเทรนด์การเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งในมิติธุรกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์
วัฒนธรรม การแข่งขัน
ความต้องการของตลาด ฯลฯ
ดังนั้น การสอนจะอ้างอิงทฤษฎี
ควบคู่กับผลของการทดลอง การลองปฏิบัติมากกว่า
เพราะนั่นคือสิ่งที่น่าเชื่อถือได้มากที่สุด
·
อาจารย์ ผู้สอน
สอนโดยอาจารย์ต่างชาติทั้งหมด
ท่ำสคัญมีระบบ
มาตรฐานควบคุม
การเรียนการสอน การประเมินผล เกณฑ์การให้คุณภาพการสอน
เกณฑ์การให้คะแนนประเมินผลเด็กที่มีมาตรฐานสูงมาก ดังนั้น ทั้งอาจารย์ ผู้สอน
และเด็กของสถาบันนานาชาติ หรือต่างประเทศจึงมีคุณภาพการศึกษาสูงกว่าเด็กไทยมาก
·
เป้าหมายของการสอน
เน้นสอนให้เด็กพัฒนา
แข่งขันกับตนเอง พัฒนา
ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
เทคโนโลยี ธุรกิจสมัยใหม่ รู้จักแก้ปัญหา พลิกวิฤติเป็นโอกาส
มองโลกมุมกลับอย่างมีวิสัยทัศน์
·
ผลที่ได้รับจากการเรียน และคุณภาพของผู้เรียน
เด็กนักเรียนที่เรียนจบจากต่างประเทศที่ไม่ต้อง
ใช้ทุน ส่วนมากเลือกเป็นเจ้าของธุรกิจหรือ
สานต่อธุรกิจครอบครัว
รวมทั้งแตกแขนงธุรกิจให้ครอบครัว
โดยเด็กเหล่านี้ส่วนมากจะมีความกล้าคิด กล้าทำ กล้าได้กล้าเสีย มีมุมมองนักธุรกิจมากกว่า ชอบทำตามความชอบ ความสนใจ
ความถนัดของตัวเอง มากว่าเลือกเข้าระบบตลาดแรงงาน และถ้าจะเข้าตลาดแรงงาน
ก็จะเลือกตำแหน่งงานที่สูง เงินเดือนสูง เป็นบริษัทต่างชาติ หรือมหาชนมากกว่าบริษัทขนาดเล็ก
|
ข้อมูลการเปรียบเทียบทั้งหมดนี้
มาจากชีวิตจริงที่ตนเองเป็นอยู่ ได้รับรู้ สัมผัสอยู่กับคนในครอบครัว คนรู้จัก
คนใกล้ตัวทั้งสิ้น เป็นขอมุลในโลกของความเป็นจริงอีกด้าน แต่ถ้าใครที่มีข้อมูลอื่น ที่แตกต่าง ต่างทัศนคติกันไป ก็แชร์กันได้ และที่มาบอกต่อนั้นก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ
ที่กำลังหันหาเข็มทิศของชีวิตจะเรียนทางไหน ใช้ชีวิตหลังเรียนจบอย่างไร รวมทั้ง ผู้ปกครองเองก็ดี อย่าลืมว่า โลกเราหมุน เปลี่ยนผ่านไปมาก
ระบบการศึกษาก้าวไกลต่างจากสมัยรุ่นๆ เราอยู่มาก ดังนั้น ....รู้ก่อนได้เปรียบก่อน
เป็นต้นทุนที่ดีทั้งต่อเรา และลูกหลานของเราๆด้วย
*******************************************************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น